วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีเล่น Ukulele

เห็นว่ามีหลายท่านเป็นมือใหม่เพ่ิงหัดเล่น Uke โดยเฉพาะคนที่ไม่มีพื้นฐานการเล่นกีตาร์มาก่อน
อาจจะยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  ผมจึงเรียบเรียงวิธีการอ่าน Tab เบื้องต้นมาให้ลองอ่านกันดูครับ
เพราะหากสามารถอ่าน Tab ได้  ก็จะช่วยให้สามารถหัดเล่น Uke ด้วยตัวเองได้อย่างสะดวกและ
ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ  ตอนผมหัดเล่นกีตาร์ใหม่ๆ ก็รู้สึกแบบเดียวกกับทุกคนที่เป็นมือใหม่ในตอนนี้
คืออยากจะเล่นเป็นมากๆ   แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง
แต่พอได้รู้จักกับ Tab ก็ทำให้การหัดเล่นง่ายขึ้นเยอะมาก 
และก็มีความสุขกับการเล่นมากขึ้นโดยไม่ท้อเลิกเล่นไปเสียก่อน

Tab หรือ Tablature ก็คือรูปแบบของสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการบันทึก และอ่านเสียงของ
เครื่องดนตรี
ที่เป็นพวกเครื่องสายโดยเฉพาะ  อันได้แก่  กีตาร์ หรือ Ukulele  มีลักษณะที่
คล้ายกับโน๊ตดนตรีมาตราฐาน
(Standard Notation/Score) ที่บันทึกลงในบรรทัด 5 เส้น 

แต่ Tab มีข้อดีกว่าตรงที่ว่านอกจากจะบอกว่าต้องเล่นโน๊ตเสียงอะไร? จังหวะเป็นยังไง? แล้ว  

Tab ยังบอกตำแหน่งในการวางนิ้ว และรวมไปถึงรายละเอียดของเทคนิคที่ใช้การเล่นอีกด้วย  

จึงทำให้เราสามารถอ่านและเล่นตาม Tab ได้ง่ายและเร็วกว่าโน๊ตมาตราฐานครับ



วิธีการเขียน Tab มีมากมายหลายรูปแบบ  แล้วแต่ว่าผู้เขียน Tab นั้น ๆ ต้องการจะสื่ออะไรให้กับ
ผูู้อ่าน 
หรือต้องการให้รายละเอียดอะไรกับผู้อ่านบ้าง  แต่ส่วนมากก็จะมีรูปแบบการเขียนที่ไม่ได้
แตกต่างกันมากนัก 
ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียง วิธีการอ่าน Tab พื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้  6  ข้อ สำหรับ
ผู้เริ่มต้นหัดเล่น Ukulele
อันได้แก่...
1. เส้นแนวนอนบน Tab ก็คือตัวแทนของสายบน Ukulele

Tab สำหรับ Ukulele นั้นมีลักษณะเดียวกันกับ Tab ของกีตาร์  จะแตกต่างกันก็ตรงที่ Ukulele  มี
เพียง 4 สาย 
ในขณะที่กีตาร์จะมี 6 สาย แต่วิธีการอ่านและสัญลักษณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเหมือนกัน

เส้นแนวนอนของ Tab 4 เส้น  จะแสดงถึงสายของ Ukulele ทั้ง 4 สายนั่นเอง 
ถ้าเราวาง Ukulele
หงายเอาไว้โดยให้ส่วนหัวชี้ไปด้านซ้ายมือ (ดังรูป)



เส้นแนวนอนเส้นบนสุดของ Tab ก็จะแสดงถึงสายที่ 1 ของ Ukulele ซึ่งหากตั้งเสียงตามมาตราฐาน
 C Tuning
เมื่อดีดสายเปล่าก็จะเป็นเสียง A  เส้นแนวนอนเส้นที่สองถัดมาก็จะแทนสายที่ 2 เสียง E

ส่วนเส้นแนวนอนเส้นที่สามก็จะแทนสายที่ 3 เสียง C  และเส้นแนวนอนเส้นสุดท้าย
ก็จะแทนสายที่ 4 
ซึ่งก็คือเสียง G ตามลำดับ
2. การแบ่งห้องบน Tab และตัวเลขอัตราจังหวะของ (Time Signature)

Tab ในแต่ละบรรทัดจะแบ่งออกเป็นห้อง(Bar) เพื่อให้อ่านได้ง่าย  โดยจะกั้นแต่ละห้องด้วยเส้นแนวตั้งเล็ก ๆ
โดยมีตัวเลขกำกับเอาไว้ในแต่ละห้องเพื่อให้ง่ายต่อการอ้างถึง (ดูตัวเลขสีแดง)
ซึ่งในบางครั้งก็อาจไม่มีตัวเลขกำกับเอาไว้ทุกห้องเพื่อความสวยงามและไม่แกะกะสายตา 
จึงอาจจะแสดงตัวเลขห้องกำกับเอาไว้เพียงบางห้องเท่านั้น



ส่วนเจ้าตัวเลข 4/4 ที่เขียนกำกับไว้ในห้องที่ 1 นั้นจะแสดงให้ทราบถึงอัตราจังหวะ (Time Signatiure)
ของเพลงนั้น ๆ ว่าเล่นด้วยอัตราจังหวะแบบใด  ถ้าไม่มีการเขียนกำกับไว้ที่ห้องอื่นอีกก็ให้ถือว่าให้เล่น

อัตราจังหวะเดียวกับห้องที่ผ่านมา  เลข 4 ตัวบนแสดงถึงจำนวนของจังหวะ(Beat) ที่มีในหนึ่งห้อง
ในที่นี้ก็คือ “มี 4 จังหวะในหนึ่งห้อง”  เลข 4 ตัวล่างแสดงถึงประเภทของโน๊ตที่ใช้เดินจังหวะ 
ซึ่งในที่นี้เลข 4 ตัวล่างแสดงว่าใช้ Quater Note หรือ โน๊ต 1 จังหวะในการเดินจังหวะของเพลง
สำหรับมือใหม่อาจ
ยังไม่ต้องกังวลกับเรื่องอัตราจังหวะนี้นะครับ 
เดี๋ยวจะพาให้งงกันไปใหญ่  เพียงแค่พอให้รู้ว่ามันคือ
ตัวเลขแสดงอะไรก็พอ
3. ตัวเลขที่อยู่บนเส้นแนวนอนของ Tab จะบอกให้รู้ว่าต้องกดที่ช่องใด และดีดที่สายใด



ตัวเลขที่อยู่บนเส้นทั้ง 4 ของ Tab จะบอกถึงตำแหน่งช่องหรือเฟลต (Fret) บนคอ Ukulele ที่จะต้องกด
และดีดที่สายนั้น ๆ  นั่นเอง  เช่นจากรูปข้างบน   ในห้องที่ 1  มีเลข 0, 2, 4 และ 5 อยู่บนเส้นที่แสดงถึง

สายที่ 3 ของ Ukulele ก็จะสามารถอ่าน Tab ออกมามีความหมายดังนี้ครับ

-  เลข 0 อยู่บนเส้นที่ 3 ก็แปลว่า ไม่ต้องกดอะไรเลยบนสายที่ 3   แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง 

   (ซึ่งก็คือให้ดีดสายที่ 3 เปล่า ๆ หนึ่งครั้งนั้นเอง)

-  เลข 2 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 2  แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง 

-  เลข 4 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 4  แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง

-  เลข 5 อยู่บนสายที่ 3 ก็แปลว่า ให้ใช้นิ้วกดสายที่ 3 ในช่องที่ 5  แล้วก็ดีดสายที่ 3 หนึ่งครั้ง

ส่วนเส้นที่แสดงถึงสายอื่น ๆ ไม่มีตัวเลขอะไรอยู่เลย ก็แสดงว่าไม่ต้องกดหรือดีดในสายนั้น ๆ เลยครับ 

ซึ่งหมายความว่าในห้องแรกนี้สายอื่น ๆ ไม่ได้ถูกเล่นนั่นเอง

ถ้าเราลองอ่าน Tab แล้วเล่นตามในห้องที่ 1 เราก็จะเล่นออกมาเป็นโน๊ต 4 ตัว คือ โด, เร, มี, ฟา ครับ

ใครลองแล้วไม่ได้ตามนี้  แสดงว่าอ่าน Tab ผิดแล้วล่ะครับ
ลองกลับไปค่อย ๆ อ่านทวนแล้วลองใหม่อีกทีนะครับ

ในห้องที่ 2 จะแสดงตัวอย่างตัวเลขที่อยู่บนเส้น Tab ที่ให้เล่นโน๊ตหลายตัวพร้อม ๆ กัน ตัวอย่างแรก

มีเลข 3 อยู่บนสายที่ 1 ก็แปลว่าให้กดช่องที่ 3 บนสายที่หนึ่ง  และมีเลข 0 อยู่บนสายที่ 2, 3 และ 4

ก็หมายถึงให้ดีดสายเปล่าสายที่ 2, 3 และ 4 ตำแหน่งตัวเลขทั้งหมดอยู่ตรงกันในแนวตั้ง
ก็คือให้เล่นไปพร้อม ๆ กันในจังหวะเดียวกัน ซึ่งในที่นี้ก็คือการจับคอร์ด C แล้วดีดสายทั้ง 4 เส้น
พร้อม ๆ กันนั่นเองครับ  ถัดมาก็เป็รูป Tab ที่ให้จับคอร์ด Am, Dm และ G7
แล้วดีดสายทั้ง 4 เส้นพร้อม ๆ กันตามลำดับ
4. เส้นกำกับจังหวะของ Tab จะบอกให้รู้ว่าต้องเล่นเสียงนั้น ๆ นานเท่าใด

นอกจากตัวเลขบนแต่ละเส้นของ Tab จะบอกให้เรารู้ว่าจะต้องดีดสายใดช่องไหนแล้ว 
ยังสามารถบอก
ความยาวของเสียงที่เล่นในแต่ละโน๊ตได้ด้วย “เส้นกำกับจังหวะ” 



ห้องที่ 1 :   มีเลข 3 อยู่บนสายที่ 1 แล้วไม่มีเส้นกำกับจังหวะใดใด ด้านล่าง  หมายความว่ากดสายที่ 1
   
                ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 4 จังหวะ (ดีดแล้วนับ1...2...3...4...)
   
                เปรียบเทียบได้กับ “โน๊ตตัวกลม” ในระบบโน๊ตมาตราฐาน

ห้องที่ 2 :   สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นสั้น ๆ ในแนวตั้ง อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab
        
               หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 2 จังหวะ
                 (ดีดแล้วนับ1...2...) เปรียบเทียบได้กับ “โน๊ตขาว” ในระบบโน๊ตมาตราฐาน

ห้องที่ 3 :   สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว ๆ ในแนวตั้ง อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab

                หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1 จังหวะ
               (ดีดแล้วนับ1...) เปรียบเทียบได้กับ “โน๊ตดำ” ในระบบโน๊ตมาตราฐาน

ห้องที่ 4 :   สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว + เส้นเขบ็ด 1 เส้น อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab

                หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1/2 จังหวะ        
               (ดีดให้ได้ 2 ครั้งขณะนับ 1...) เปรียบเทียบได้กับ “โน๊ตเขบ็ด 1 ชั้น” ในระบบโน๊ตมาตราฐาน

ห้องที่ 5 :   สังเกตดูจะมีเส้นกำกับจังหวะ เป็นขีดเส้นยาว + เส้นเขบ็ด 2 เส้น อยู่ข้างใต้บรรทัดของ Tab

                หมายความว่ากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และให้ดีดสาย 1 ให้เสียงดังนานเป็นเวลา 1/4 จังหวะ
                  (ดีดให้ได้ 4ครั้งขณะนับ 1...) เปรียบเทียบได้กับ “โน๊ตเขบ็ด 2 ชั้น” ในระบบโน๊ตมาตราฐาน


ห้องที่ 6 :   ถัดมาหากไปเจอที่เส้นกำกับจังหวะ  มีเครื่องหมาย “จุด” ( . ) อยู่ด้วย จะหมายความว่า

                ให้เพิ่มความยาวของเสียงที่เล่นไปอีกครึ่งหนึ่ง  เช่นแต่เดิมเล่นเป็น 1 จังหวะ ก็ให้เพิ่ม

                  ความยาวของเสียงไปอีกครึ่งหนึ่งก็คือ 1/2  จังหวะ  รวมแล้วโน๊ตนี้ต้องเล่นทั้งหมดนาน

                1 + 1/2 จังหวะนั่นเอง  แล้วแต่ว่าสัญลักษณ์ “จุด” นี้จะไปอยู่คู่กับเส้นกำกับจังหวะอะไร

                 ก็บวกคำนวณกันเอาเองละกันนะครับ

                และมียังลักษณะการเล่นบางประเภทที่มีการ “คร่อมจังหวะ”  คือ โดยปกติแล้วในหนึ่งจังหวะ
  
                เราอาจจะจะเล่น 1, 2, หรือ 4 โน๊ต    แต่ในบางเพลงกำหนดให้เล่นเป็น 3 โน๊ตในหนึ่งจังหวะ

               (หรืออาจจะเป็น 3 โน๊ตใน 1/2 จังหวะ)  เรียกว่า “Triplet” สัญลักษณ์จะมีขีดด้านล่างเชื่อมต่อ

                กันและมีเลข 3 กำกับเอาไว้   ซึ่งการเล่นโน๊ตในลักษณะแบบนี้อาจจะยากไปสำหรับมือใหม่
  
                 แต่หากเล่นได้แล้วจะทำให้เพลงที่เราเล่นมีความไพเราะและสวยงามขึ้นอีกมากมาย
5. สัญลักษณ์ การหยุด ของ Tab เพื่อให้รู้ว่าเมื่อไรต้องหยุดเล่น และหยุดนานเท่าใด

ในการเล่นเพลงแต่ละเพลงนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเล่นให้เกิดเสียงโน๊ตอยู่ตลอดเวลานะครับ

ดนตรีจะเป็นดนตรีและมีความสวยงามได้   การหยุดเล่นในบางจังหวะนั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด

ความไพเราะของเพลง  บน Tab ก็จะมีสัญลักษณะให้รู้ว่าเมื่อใดต้องหยุดเล่นโน๊ต และหยุดนานเท่าใด




ห้องที่ 1 :   ถ้าเห็นสัญลักษณ์เป็นขีดทึบตามแนวนขวางเหมือนเครื่องหมายลบ (-) อยู่ใต้เส้น Tab ของ

                 สายที่ 2  นั่นคือสัญลักษณะที่แสดง “การหยุด” เล่นนาน 4 จังหวะ


ห้องที่ 2 :   แต่ถ้าเจ้าสัญลักษณ์เป็นขีดทึบตามแนวนขวางเหมือนเครื่องหมายลบ (-) ไปอยู่บนเส้น Tab

               ของสายที่ 3  นั่นคือสัญลักษณะที่แสดง “การหยุด” เล่นนาน 2 จังหวะ

ห้องที่ 3 :   สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 3 คือสัญลักษณะที่แสดง “การหยุด” เล่น
        
                นาน 1 จังหวะ 


ห้องที่ 4 :   สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 4 คือสัญลักษณะที่แสดง “การหยุด” เล่น

                นาน 1/2 จังหวะ

ห้องที่ 5 :   สัญลักษณะที่เห็นอยู่ท้ายสุดของห้องที่ 5 คือสัญลักษณะที่แสดง “การหยุด” เล่น

                นาน 1/4 จังหวะ
6. สัญลักษณ์แสดงเทคนิคการเล่น  เพื่อให้รู้ว่าใช้เทคนิคการเล่นอย่างไรในเสียงนั้น ๆ

นอกจากการอ่าน Tab จะทำให้เรารู้ว่าเล่นเสียงไหน ที่ตำแหน่งใด  นานเท่าใด  ต้องหยุดเมื่อใด

และหยุดนานเท่าไรแล้ว  ยังมีสัญลักษณ์บน Tab ที่จะช่วยบอกให้ผู้อ่านได้รู้ว่าโน๊ตหรือเสียงนั้นๆ

ใช้เทคนิคการเล่นอย่างไร  เพื่อให้สามารถได้เสียงที่เล่นออกมา และได้อารมณ์เพลง (Feeling)
เหมือนกับต้นฉบับ สัญลักษณ์เทคนิคการเล่นเบื้องต้นที่มือใหม่ควรรู้ได้แก่

ห้องที่ 1 :   ถ้าเห็นสัญลักษณ์เป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อกันข้างบนระหว่างตัวเลข 2 ตัว  แสดงว่าให้เล่นโดย

                  ใช้เทคนิค Hammer On บางครั้งอาจจะมีตัวอักษรย่อ HO กำกับเอาไว้ให้ด้วย  ซึ่งวิธีการ
​​               เล่นก็คือ  เมื่อเล่นโน๊ตแรกแล้ว ในจังหวะต่อไปให้ใช้นิ้วกดลงไปในตำแหน่งของโน๊ตตัวที่
                 สองโดยไม่ต้องดีด  นั่นก็แสดงว่าทั้งสองโน๊ตจะต้องถูกกดอยู่บนสายเส้นเดียวกัน

               และโน๊ตตัวที่สองจะต้องมีเสียงสูงกว่าเสียงแรกเสมอ


              จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 1   ให้เรากดสายที่ 1 ในช่องที่ 3   แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก

               (โดยที่นิ้วยังคงกดเสียงแรกค้างไว้)  ในจังหวะถัดมาให้กดสายที่ 1 ในช่องที่ 5 โดยไม่ต้อง

                ดีดสายที่ 1 อีกครั้ง
             

ห้องที่ 2 :   แต่ถ้าโน๊ตตัวแรกที่เล่นสูงกว่าโน๊ตตัวที่สอง  เทคนิคนี้จะเรียกว่า Pull Off บน Tab  จะใช้รูป

                สัญลักษณ์เป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อกันข้างบนเหมือนกัน  และอาจจะมีอักษรย่อ PO กำกับไว้ให้
                 วิธีเล่นเทคนิคนี้จะตรงกันข้ามกับเทคนิคแรก  คือให้เราวางนิ้วเอาไว้ก่อนทั้งสองโน๊ตแล้วให้
               ดีดโน๊ตแรกก่อนในจังหวะที่หนึ่ง ในจังหวะถัดไปให้ยกนิ้วที่กดสายโน๊ตเสียงแรกออกเพื่อให้

               เกิดเสียงของโน๊ตตัวที่สองโดยไม่ต้องดีด


               จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 2   ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3 และช่องที่ 5 เอาไว้ก่อน

               แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก  ในจังหวะถัดมาให้ยกนิ้วที่กดสายที่ 1 ช่องที่ 5  ออก เพื่อ

               ให้เหลือนิ้วที่กดช่องที่ 3 ไว้เพียงช่องเดียว โดยไม่ต้องดีดสายที่ 1 อีกครั้ง

ห้องที่ 3 :   หากระหว่างตัวเลขสองตัวบนเส้น Tab มีเส้นเฉียงขีดเอาไว้  จะเป็นสัญลักษณ์ว่าต้องการ

                ให้เล่นด้วยเทคนิค Slide ครับ  ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ ถ้าเป็นเส้นเฉลัยงขีดขึ้นจะให้เล่นด้วย

               เทคนิค Slide Up เมื่อดีดโน๊ตแรกแล้วให้ลากนิ้วไปหาโน๊ตที่ 2 แล้วดีดโน๊ตที่ 2 อีกที  ซึ่ง

               โน๊ตตัวที่ 2 จะเป็นโน๊ตที่มีเสียงสูงขึ้นเสมอ แต่ถ้าเป็นเส้นเฉียงขีดลงจะให้เล่นด้วยเทคนิค
  
                Slide Down ก็เป็นในทางกลับกัน  คือให้ดีดโน๊ตแรกที่เป็นเสียงสูงก่อน  แล้วค่อยลากนิ้ว

               มายังโน๊ตตัวที่ 2 ซึ่งมีเสียงต่ำกว่า  แล้วดีดโน๊ตที่ 2 อีกครั้ง


               จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 3  ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3  แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะ

               แรก  จากนั้นให้ลากเลื่อนนิ้วที่กดสายหนึ่งช่องที่ 3 อยู่นั้นไปยังช่องที่ 5   แล้วจึงดีดสายที่ 1

                อีกครั้งเป็นการเล่นเทคนิค Slide Up     ถัดมาก็เป็น Slide Down โดยเริ่มจากให้วางนิ้วไว้

               สายที่ 1 ช่องที่ 5 ก่อน แล้วดีดสายที่ 1 ในจังหวะแรก   จากนั้นก็ให้ลากนิ้วที่กดช่องที่ 5 อยู่

                ไปยังช่องที่ 3 แล้วดีดสายที่ 1 อีกครั้งครับ

ห้องที่ 4 :   สัญลักษณะที่เห็นอยู่ในห้องที่ 4 จะคล้าย ๆ กับเทคนิค Slide ในห้องที่ 3 แต่จะมีเส้นโค้ง ๆ

                เชื่อมโยงระหว่างข้างบนตัวเลข 2 ตัวเพิ่มขึ้นมา  วิธีการเล่นก็จะเหมือนกับเทคนิค Slide

               แต่จะต่างกันตรงที่ในจังหวะโน๊ตที่ 2 นั้นไม่ต้องดีด

ห้องที่ 5 :   หากว่าด้านล่างตัวเลขมีสัญลักษณะเป็นเส้นโค้งเชื่อมต่อมายังจังหวะถัดไป   คือสัญลักษณ์

               ที่แสดงการเล่นด้วยเทคนิค Link  วิธีการเล่นก็คือเมื่อเล่นโน๊ตแรกแล้ว  ให้กดนิ้วแช่เอาไว้

               อย่างนั้นจนครบเวลาของจังหวะที่ 2 ด้วย  และหากว่ามีสัญลักษณ์ Link ติดกันหลาย ๆ อัน

               ก็ให้กดแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตนั้น ๆ ดังยาวจนครบเวลาของจังหวะที่กำหนด


              
  จากรูปตัวอย่างในห้องที่ 5  ให้เราวางนิ้วกดสายที่ 1 ในช่องที่ 3  แล้วดีดสายที่ 1 และนับ

                หนึ่งจังหวะ  แลยังคงกดนิ้วแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตดังยาวไปอีกหนึ่งจังหวะด้วย    ก่อน

               ที่จะเปลี่ยนนิ้วมากดสายที่ 1 ช่องที่ 5 แล้วดีดสายที่ 1 เพื่อเล่นโน๊ตถัดมาหนึ่งจังหวะ และ

                กดนิ้วแช่เอาไว้ให้เสียงของโน๊ตดังยาวไปอีกหนึ่งจังหวะเช่นกัน
             แสดงให้เห็นสัญลักษณะบน Tab ที่แสดงการเล่นซ้ำ (Repeat) ครับ  ในห้องที่ 6 จะเป็นรูป

               สัญลักษณะแสดงถึงจุดเริ่มต้นของการเล่นซ้ำ (Repeat Open)  ส่วนในห้องที่ 7 จะเป็นรูป
              สัญลักษณะแสดงถึงจุดสิ้นสุดของการเล่นซ้ำ (Repeat Close)  ซึ่งก็หมายความว่าทุกห้อง

               ที่อยู่ระหว่างรูปสัญญลักษณ์ทั้งสองนี้ให้เล่นซ้ำอีกหนึ่งรอบ    หากจะให้เล่นซ้ำมากกว่าหนึ่ง

              รอบก็จะมีตัวเลขจำนวนรอบเขียนกำกับเอาไว้  เช่น ถ้าให้เล่นซ้ำ 3 รอบก็จะระบุไว้เป็น X 3
เพียงเข้าใจวิธีการอ่าน Tab เบื้องต้น 6 ข้อนี้  ก็เพียงพอแล้วสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดเล่น Ukulele ที่จะ
สามารถอ่าน แล้วเล่นตาม Tab นั้น ได้แล้วครับ  ถึงแม้ว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่บน Tab จะมีอีกเยอะ

แต่ส่วนใหญ่ก็มักไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักสำหรับ Tab เพลงทั่ว ๆ ไป  และความรู้ในการอ่าน Tab

พื้นฐานนี้ก็จะทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการอ่าน Tab ที่มีรายละเอียด และมีความซับซ้อนที่
มากขึ้นไปกว่านี้ได้

อ่านไปอ่านมาหลายท่านอาจจะเริ่ม “งง” อย่าเพิ่งท้อนะครับ  ลองพยายามค่อย ๆ อ่านทำความเข้าใจกันไป 
และหากลองเล่นตามไปด้วยจะได้ฟังเสียงที่แตกต่างกันในเทคนิคการเล่นแต่ละแบบ ก็จะยิ่งทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นครับ...    

เวลาหัดเล่นจาก Tab ในความเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ถึงขนาดกับต้องซีเรียสนั่งนับจังหวะกัน
ให้ได้ตรงเป๊ะ ๆ หรอกครับ  หากมีต้นฉบับเพลงให้ฟังเราก็ฟังซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ
เราก็จะรู้และจับจังหวะได้เอง  ในตอนเริ่มต้นฝึกเล่นจาก Tab ให้ใจเย็น ๆ ครับ
ค่อย ๆ หัดเล่นไปทีละห้องทีละห้อง อย่าเพิ่งใจร้อนรีบเล่นให้ได้จบเพลงเร็ว ๆ
อาจจะเริ่มจากเล่นด้วยจังหวะช้า ๆ ก่อนก็ได้  พอห้องไหนเล่นได้คล่อง
และเคยชินกับการวางนิ้วและการดีดแล้ว  ก็ค่อย ๆ เพิ่มความเร็วในการเล่น
ให้ตรงกับต้นฉบับ  เมื่อได้แล้วก็ให้ลองเปิดเพลงต้นฉบับ แล้วลองเล่นไปพร้อม ๆ
กับเพลงต้นฉบับดู  อาจจะทำให้ได้รู้ว่าเราอาจจะมี
บกพร่อง หรือข้อแตกต่างในจุดไหนบ้าง 
ก็ค่อย ๆ ปรับแก้กันไป  หรือบางทีเราก็อาจจะอยากเล่นในรูปแบบของเราตามอารมณ์
และความรู้สึกของเราเองก็ได้  โดยอาศัย Tab และเพลงต้นฉบับเป็นเพียงแนวทาง
เพื่อให้หัดเล่นได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น
ที่มา http://forum.ukeclub.net/viewthread.php?tid=289

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติของอูคูเลเล่ (Ukulele)


Ukulele เครื่องดนตรี 4 สาย ที่ไม่ใช่กีต้าร์!? ของขวัญที่ได้มาของชาวฮาวายเอี้ยน

"Ukulele" เป็นภาษาฮาวายเอี้ยน ความหมายของคำว่า "ukulele" ถูกแยกเป็นสองคำคือ "uku" ซึ่งแปลว่า "ของขวัญหรือรางวัล"
ส่วนคำว่า "lele" แปลว่า "การได้มา" ดังนั้นเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จึงแปลความหมายได้ว่า "ของขวัญที่ได้มา"

"Ukulele" อาจจะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นใหม่สำหรับใครบางคน แต่สำหรับนักดนตรี หรือผู้คนบนเกาะฮาวาย(Hawaii) Ukulele เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเสมือนศิลปะ และวัฒนธรรมของชาวฮาวายเอี้ยน เครื่องดนตรีชิ้นนี้ถูกเล่นในงานรื่นเริงต่างๆ ในทุกๆ เทศกาล Ukulele กลายเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งบนเกาะฮาวาย ดังนั้น ชาวฮาวายเอี้ยนกับอูกูลีเล จึงแยกจากกันไม่ออก!
Ukulele คืออะไร?
เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กพกพาสะดวก สวยสะดุดตาเมื่อแรกเห็น และตัวจิ๋วเล็กนิดเดียว ในชื่อ "Ukulele" (ออกเสียงว่า อูกูลีเล)
บางท่านอาจจะสามารถเรียกอีกชื่อว่า อูกี (Uke) ก็คงไม่ผิด เครื่องดนตรีชิ้นนี้เกิดมาก่อนสงครามโลกสะอีก อายุอานามไม่แพ้อะคูสติกกีต้าร์ เพียงแต่ว่าเครื่องดนตรีทั้งสองมีการกำเนิด และมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน

กีต้าร์โปร่งโด่งดังและพัฒนามาจากอเมริกา และ Ukulele เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาจากเกาะฮาวาย เกิดมาก่อนยุคสงครามโลก
ต่อมาช่วงยุค 60's เจ้า Ukulele ขึ้นมาโด่งดังและรู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น เพราะว่านักดนตรีโฟล์คซอง และแจ๊ส ได้นำมันไปเล่น
ตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ผู้คนทั่วไปเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตา และรู้จักกับเจ้า Ukulele มากขึ้น
 
"John Lennon / George Harrison / Elvis Presley"
ผู้คนต่างแดนเริ่มพบเห็น และรู้จักเจ้า Ukulele อย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่นวง The Kingston Trio (American Folksong) เป็นวงโฟล์คซอง
ก่อนยุค Peter Paul & Mary, ซึ่งเป็นวงดนตรีโฟล์คซองที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น ทั้ง David Guard และ Bob Shane เกิดและโตมาจากเกาะฮาวาย เล่น Ukulele มาตั้งแต่เด็ก หรือแม้กระทั้งสมาชิกวง "The Beatles" ยังเคยนำเจ้า Ukulele ไปใช้ ยังรวมทั้ง "Elvis Presley"
ในช่วงยุค 80's Ukulele เริ่มตกกระแส ความนิยม การนำมาใช้เล่น และการกล่าวถึงเริ่มจางลงจนแทบจะหายไป

ต่อมาในช่วงปี 1990 เกิดกระแสขึ้นอีกครั้ง เมื่อเกิดศิลปิน Israel Kamakawiwo'ole(IZ) นักดนตรีจากเกาะฮาวาย ด้วยเอกลักษณ์ตัวอ้วนใหญ่คล้ายกับยักษ์ แต่เลือกที่จะเล่น Ukulele ตัวจิ๋วเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย, IZ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กระแส IZ จึงเกิดมาพร้อมกับ Ukulele เพลงของ IZ ยังถูกไปใช้เป็นเพลงประกอบหนังอยู่เป็นระยะๆ

IZ ได้ร้องและเล่นบทเพลง "Over the Rainbow/What a Wonderful World" ซึ่งทำให้ผู้คนเริ่มหลงเสน่ห์ในเสียงของ ukulele เข้าอย่างจัง
 
"IZ Israel Kamakawiwo'ole / Jake Shimabukuro"
ปลายยุค 90's หลังจากที่ Ukulele เริ่มแพร่หลายในอเมริกา เจ้า Ukulele ยังไปมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย เพราะเด็กหนุ่มลูกครึ่งญี่ปุ่นฮาวายฝีมือขั้นเทพนามว่า "Jake Shimabukuro" ได้นำ Ukulele มาเล่นเพลงได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยลีลาอันสุดเร้าใจ ดุดัน รุนแรง
ทั้งวิธีการนำเอาเพลงที่เคยได้รับความนิยมในอดีต มา cover ด้วย Ukulele จึงทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าถึงเสน่ห์ของ Ukulele ได้ง่ายขึ้น

Jake จึงถือเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดคนหนึ่ง ที่ทำให้วัยหนุ่มสาวยุคใหม่ เริ่มหันมาสนใจที่จะฝึกหัด และหัดเล่น ukulele อย่างจริงๆ จังๆ
นอกจากนั้นแล้ว ศิลปินยุคใหม่เช่น "Jack Johnson" และ "Jason Mraz" ก็ยังเล่น ukulele กับเขาด้วย

ประเภทของ Ukulele มีขนาดใดบ้าง?
Ukulele มีสายเพื่อใช้บรรเลงเพลงแค่เพียง 4 สาย โดยใช้สายไนล่อน รูปทรงจะเล็กกว่าอะคูสติกกีต้าร์มาก ซึ่งจะมีขนาดอยู่ 4 ขนาด คือ

1) soprano (standard size) มีขนาดความยาว 21" นิ้ว
2) concert มีขนาดความยาว 23" นิ้ว
3) tenor มีขนาดความยาว 26" นิ้ว
4) baritone มีขนาดความยาว 30" นิ้ว
Ukulele แต่ละขนาด มีเอกลักษณ์อย่างไร?
Soprano ถือเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับชาวฮาวายเอี้ยน แต่สำหรับคนไทยอาจจะไม่ใช่ โดยเฉพาะผู้ที่เล่นอะคูสติกกีต้าร์มาก่อน
ถ้าหากเริ่มต้นหัดจากขนาด Soprano อาจจะท้อสะก่อน เพราะยิ่งขนาดเล็กเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การเล่นทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น

Fingerboard ที่เล็ก ทำให้การวางตำแหน่งของมือซ้ายทำได้ยาก และขนาดตัวที่เล็กก็ทำให้การโอบ หรือการพยุงมันขึ้นมาแนบกับอก
ก็ยิ่งทำได้ยาก เพราะยิ่งโอบไว้นานยิ่งเมื่อย รวมถึงระยะห่างของสายทั้งสี่เส้นก็มีระยะห่างน้อยมาก จึงทำให้การเล่น finger ตามได้ยาก

แต่ไม่ใช่ว่าขนาด Soprano นี้จะไม่ดี มันก็เหมือนกับอะคูสติกกีต้าร์นั่นล่ะ ที่แต่ละทรงก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งขนาด Soprano
จะให้เสียงที่คมชัด แหลมดี และย่านเสียงสูงยอดเยี่ยมกว่าทรงอื่นๆ มันเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการเล่นแบบตีคอร์ด เป็น Background
ให้กับวง ดังนั้น ukulele ขนาด Soprano จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เล่น Ukulele ได้คล่องแล้ว และเน้นสไตล์การเล่นแบบตีคอร์ด

Concert จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาด soprano ขนาดตัว และฟิงเกอร์บอร์ดที่มีความกว้างมากขึ้นนั้น ช่วยทำให้การเคลื่อนของมือซ้าย
ทำได้ง่ายขึ้น เอกลักษณ์เสียงของขนาด Concert คือให้เสียงแหลมพอประมาณ และมีเสียงกลางผสม จึงเหมาะกับการใช้เล่น ในสไตล์
strum-chord(ตีคอร์ด) เป็นหลัก แต่สามารถใช้เล่นสไตล์ finger-picking ได้เช่นกัน

Tenor มีขนาดใหญ่กว่า concert ผู้เล่นสามารถเล่นได้ง่าย คือทั้งการโอบหรือพยุงขึ้นแนบกับอกทำได้ง่ายขึ้น การใช้มือซ้ายและมือขวา
เคลื่อนไหวได้ง่าย ขนาดของลำตัว(body) และฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่ขึ้นนั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีนิ้ว/มือที่ใหญ่ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มหัดเล่น
เอกลักษณ์เสียงอยู่ที่เสียงกลางดี มีเนื้อเสียงที่ชัดเจน จึงเหมาะกับการเล่นแบบ finger-picking และ solo ได้ดี เสียงที่ออกมาจะมีความ
ใกล้เคียงอะคูสติกกีต้าร์พอสมควร แต่ tenor ให้โทนเสียงแหลมคมและการพุ่งของเสียง จะน้อยกว่า soprano และ concert

Baritone เหมาะกับการเล่นโน๊ตเป็นตัวๆ หรือการเล่นแบบโซโล หรือเล่นแบบ Finger-style ให้ย่านเสียงต่ำดี แต่ย่านเสียงสูงไม่โดดเด่น
จึงตอบสนองเสียงคมๆ แหลมๆ ได้ไม่ดีนัก มีเสียงใกล้เคียงกับอะคูสติกกีต้าร์มากที่สุด
 
"ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของ Ukulele"
 
วิธีการตั้งสาย Ukulele แบบมาตรฐาน(C tuning):

การตั้งสาย ukulele สำหรับขนาด "soprano", "concert" และ "tenor" มีหลายแบบ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการตั้งแบบมาตรฐาน ให้ตั้งเป็น
G(สาย4)
C(สาย3)
E(สาย2)
A(สาย1)
สรุปง่ายๆ ว่า ถ้าเอาคาโป้(capo) มาคาดตรง fret ที่ 5 ของคออะคูสติกกีต้าร์ ก็เหมือนกับเล่น Ukulele แล้วครับ
คือทุกๆ สายจะเป็นโน๊ตตัวเดียวกันหมด ทั้งขนาด soprano, concert และ tenor (แต่ G ของสาย 4 เป็นเสียงสูง)
สำหรับเครื่องตั้งสายอะคูสติกกีต้าร์สมัยใหม่ จะมีให้เลือกตั้งสายแบบ ukulele ด้วย แต่ถ้าไม่มีก็สามารถตั้งได้ถ้าเราจำเสียงได้
 
Baritone
วิธีการตั้งสายสำหรับขนาด Baritone จะแตกต่างกับขนาดอื่นๆ คือให้ตั้งเป็น D G B E จะสังเกตุเห็นว่า การตั้งแบบนี้ก็เหมือนกับ
การตั้งสายล่าง(เสียงสูง)ของอะคูสติกกีต้าร์ ดังนั้น Baritone จะตั้งสายโดยถอดแบบมาจากสายล่าง(เสียงสูง)ของกีต้าร์ คือ
4(D)
3(G)
2(B)
1(E)
แนะนำเวปตั้งสาย ukulele On-Line (คลิก)
 
การเลือกซื้อ Ukulele ให้ถูกใจ?
หากถามถึงวิธีการเลือกขนาด Ukulele นั้น ไม่มีสูตรที่ตายตัว ก็เหมือนกับอะคูสติกกีต้าร์นั่นล่ะ คือจะต้องดูที่ความต้องการของผู้เล่นด้วยว่า
ต้องการเสียงแบบใด และนำไปเล่นในสไตล์ไหน เพราะหากผู้เล่นมีความชำนาญในการเล่น Ukulele แล้ว ไม่ว่าทรงนี้ก็สามารถเล่นได้ทั้งนั้น
เช่น หากต้องการเล่นตีคอร์ด และชอบเสียงคมๆแหลมๆ มากๆ ขอแนะนำขนาด Soprano, แต่ถ้าต้องการเอาไปฝึก Finger-style
และต้องการเสียงแหลมคมชัดผสมเสียงกลาง แนะนำขนาด Concert, หรือหากต้องการนำไปเล่นเน้น Finger-packing ผสมการเล่นแบบ
โซโล และอยากได้เสียงโทนเสียงหนาๆ หน่อยแนะนำ Tenor เป็นต้น
 
นอกจากนั้นแล้วในกรณีมือใหม่ คงจะต้องคำนึงถึงขนาดของ Ukulele ด้วย เพราะขนาดเป็นตัวกำหนดความยากง่าย การเลือกซื้อ Ukulele
ขนาด Soprano คงจะไม่ง่ายนักกับการฝึก จึงควรจะเลือกซื้อขนาด Concert ขึ้นไป ยิ่งขนาด Tenor ยิ่งดี เพราะมันสามารถฝึกได้ง่ายกว่า
ไม่ว่าจะการวางหรือการควบคุมนิ้วมือทั้งซ้ายและขวา ก็สามารถจะทำได้ง่าย ถ้าเริ่มต้นด้วย ขนาด Soprano อาจจะท้อจนเลิกเล่นสะก่อน

จุดสำคัญอีกอย่างในการเลือกซื้อก็คือ ความปราณีตและความเรียบร้อยของงานประกอบและวัสดุที่ใช้ทำ เช่นในส่วนของ Bridge หรือ
สะพานสายที่ยึดด้านท้าย Ukulele ในระดับราคาถูกๆ มักจะพบปัญหาว่า สะพานสายจะแตก ฉีก หรือไม่ก็ติดกาวไม่แข็งแรงทำให้ขยับได้
อีกส่วนก็คือในตำแหน่งลูกบิด (tuner) บางครั้งพบว่า ลูกบิดเกิดอาการไม่สามารถหมุนสายให้ขึ้นได้ หรือชอบคลายตัวเอง ทำให้เกิดเสียงเพี้ยนบ่อยๆ

ดังนั้น จะเลือกซื้อ ukulele สักตัว ก็จะต้องพิจารณาความปราณีตของงานและคุณภาพของวัสดุที่ใช้ประกอบด้วย ระดับราคาของ ukulele
มีตั้งแต่หลักร้อย(แต่ไม่แนะนำ) หลักพันต้นๆ กลาง และปลาย จนกระทั้งถึงหลักหลายหมื่นบาท โดยเฉพาะ ukulele ที่ผลิตจากอเมริกา
และฮาวาย จะมีราคาสูงมาก

Ukulele เล่นอย่างไร?
การเล่น Ukulele จะแตกต่างกันกับอะคูสติกกีต้าร์ คือวิธีการเล่น Ukulele จะต้องใช้การโอบ คือการยกเจ้า Ukulele ไว้ชิดแนบหน้าอก
ส่วนเทคนิคมือขวาจะใช้วิธีการดีดขึ้นเป็นหลัก และวิธีการสะบัด/สลับนิ้วขึ้นลงเป็นเทคนิคที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการขึ้นลงแบบเร็วๆ (faster)
จะต้องมีการฝึกวิธีการสะบัดข้อมือขวา และนิ้วมือขวาทั้งห้านิ้วให้ชำนาญ

รูปคอร์ดก็จะแตกต่างจากรูปคอร์ดกีต้าร์ ดังนั้น เวลาจะฝึกเล่น Ukulele สิ่งแรกคือ คุณจะต้องลืมคอร์ดของกีต้าร์ให้หมด ด้วยเหตุผลนี้
จึงเป็นเรื่องพูดกันตลกๆในกลุ่มคนเล่น ukulele ว่า พวกที่เล่นกีต้าร์ไม่เป็นหรือไม่เคยเล่นกีต้าร์มาก่อน จะฝึกเล่น ukulele ได้เร็วกว่าพวกที่เล่น
กีต้าร์มาก่อน เพราะมันสับสนเรื่องการวางรูปนิ้ว(คอร์ด)ของมือซ้าย! (แนะนำเวปคอร์ด+เพลง สำหรับเล่น ukulele www.ukulelesongs.com)
 
"ตารางคอร์ด"
 
Ukulele ทำจากไม้ประเภทใดบ้าง?
ถ้าจะถามว่าประเภทไม้ หรือไม้ชนิดใดที่เป็นต้นฉบับ และนิยมสำหรับ Ukulele? ก็คงจะต้องตอบว่า ต้องเป็นไม้ "Koa" หรือ
"Hawaiian Koa" แต่คงไม่ได้หมายถึงว่าไม้ Koa ให้เสียงที่ดีที่สุด เนื่องจากไม้แต่ละชนิดก็มีลักษณะโดดเด่นทางด้านเสียงที่แตกต่างกัน
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้เล่น ว่าชอบลักษณะเสียงแบบใด เรามาดูคุณสมบัติของไม้แต่ละประเภทกัน...

ไม้ Koa (Hawaiian Koa)
ซึ่งถือกำเนิดมาจาก Hawaii สีไม้น้ำตาลอ่อน ออกผสมสีส้ม และมีลายเข้ม สะท้อนแสงได้อย่างดี ให้เสียงย่านสูงดี เสียงจะเด่นไปทาง
แหลมคมและชัด ว่ากันว่าถ้าใช้ไม้ Koa ประกอบทั้งตัว จะได้เสียงที่ Balance ดีมากๆ ดังนั้นเราจึงเห็นว่า กีต้าร์แบนด์ดังๆ จึงนิยมใช้ไม้ Koa
ประกอบทำอะคูสติกกีต้าร์แบบทั้งตัว (all Koa) และไม้ชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับไม้อย่าง Indian rosewood, หรือ Mahogany
ดังนั้น Ukulele ที่ใช้ไม้ Koa ประกอบทั้งตัว (all Koa) และโดยเฉพาะ Koa ที่ลายไม้สวยๆ จะมีราคาค่อนข้างสูงมาก
 
ไม้ Mango
เป็นอีกไม้ชนิดหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงว่า มันสามารถให้เสียงที่ใกล้เคียงกับไม้ Koa มากที่สุด แต่ราคาไม่สูงเนื่องจากหาได้ไม่ยากนัก
ลายไม้เป็นทางและมีความแปลกกว่าลายไม้อื่นๆ สีออกน้ำตาลและดำผสมกัน มีความสวยงาม เช่นยี่ห้อ Oscar Schmidt เป็นต้น
 
ไม้ Mahogany
เป็นไม้อีกประเภทที่ให้เสียงคล้ายกับ Koa แต่มันให้เสียงแหลมคมที่ดีกว่า ทนกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า สีและลายไม้อาจจะ
ไม่สวยเท่ากับ Koa, แต่ถ้าจะเอาแบบลายไม้สวยราคาก็จะสูงตามไปด้วย และค่อนข้างหายาก
 
ไม้ Spruce และ Cedar สำหรับทำไม้หน้า(top)
ไม้บางอย่างเหมาะเฉพาะที่จะนำมาทำเป็นไม้หน้าเท่านั้น เช่น Spruce, และ Cedar เป็นต้น ไม้ ทั้งชนิดเป็นไม้เนื้ออ่อน ซึ่งช่วยลดความแข็ง
ของเสียงที่สะท้อนมาจากไม้แผ่นหลังและข้างได้ ทำให้เสียงนุ่มนวลขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเสียงนุ่มนวลสักนิด
อย่างเช่นยี่ห้อ Oscar Schmidt ก็ใช้ไม้ประเภทนี้

ไม้ที่นิยมกันมากคือ Sitka Spruce และ Cedar, คุณสมบัติของ Spruce สามารถลดความแข็งและแหลมของเสียง ช่วยทำให้เสียงนุ่มนวลขึ้น
ส่วนคุณสมบัติของไม้ cedar แม้จะช่วยลดเสียงแหลมลงบ้างแต่ก็ไม่มากนัก แต่คุณสมบัติจริงๆของมันก็คือ การให้โทนหางเสียงที่คมๆ และดุดัน
 
บางยี่ห้อยังใช้วัสดุไฟเบอร์กลาส(Fiberglass) มาทำส่วนหลังและข้าง(back & side) ของตัว ukulele ด้วย เช่นยี่ห้อ Fluke
หลักการเหมือนกันกับ Ovation Guitar ให้เสียงที่แปลกไปอีกแบบ ข้อดีคือความทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการดูแลรักษา
ยังทำได้ง่ายกว่า Ukulele ที่ทำจากไม้ทั้งตัว แต่ให้เสียงไม่เป็นธรรมชาติเท่ากับ ukulele ที่ทำจากไม้ทั้งตัว
 
Ukulele ผลิตจากที่ไหนบ้าง?โรงงานที่ผลิตและประกอบ ukulele มีอยู่หลายแหล่งด้วยกัน เช่น เวียดนาม อินโด จีน ญี่ปุ่น แคนนาดา อเมริกา และฮาวาย ซึ่งแน่นอนว่า
Ukulele ที่ทำหรือประกอบจากฮาวาย ย่อมมีราคาค่าตัวสูงกว่า ukulele ที่มาจากแหล่งอื่นๆ และองค์ประกอบของวัสดุก็เป็นตัวแปล ที่ทำให้
ราคาของ Ukulele สูงต่ำด้วย เช่นประเภทไม้, เกรดของ Abalone ที่ประดับบนตัว Ukulele และสมัยใหม่เราจะเห็นว่ามีการติดตั้ง Pickup
หรือมีชุด Preamp ให้กับ Ukulele ด้วย แน่นอนว่า ระดับ/คุณภาพของ pickup/preamp ก็มีผลอย่างยิ่งต่อราคา
 
ศิลปินต้นแบบในยุค 2000?หลังจากกระแสในยุค 60's ที่มาจากศิลปินโฟล์ค(American Folksong) และจากอีหลายๆศิลปิน เช่น The Beatles, ทั้ง John Lennon และ
George Harrison หรืออย่าง Elvis Presley ต่อมาในยุค 90's กับ IZ ที่ช่วยปลุกกระแสอีกครั้ง

ต่อถึงยุคของ "Jake Shimabukuro" ในยุค 2000 นี้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบดนตรีอะคูสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "Ukulele" คงไม่มีใครไม่รู้จัก Jake Shimabukuro อย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นเด็กหนุ่มที่มีทักษะ มีความสามารถ และเป็นนักเล่น ukulele ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม รวมถึงการแสดงบนเวที ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกด้วย เขายังมีโอกาสได้ร่วมเล่นกับ Tommy Emmanuel (ศิลปินแนว finger-style มือระดับโลก) มาแล้ว, Jake ยังได้ออกผลงานอัลบั้ม Ukulele มาแล้ว รวมเกือบ 10 อัลบั้ม แต่หากใครเป็นแฟนเพลง Jake คงรู้ว่า เขาดังมาตั้งแต่ในยุค 90' กลางๆ แล้ว คือตั้งแต่ตอนที่อยู่ฮาวาย นอกจากนั้นแล้ว ศิลปินอย่างยุคใหม่อย่าง "Jack Johnson" และ "Jason Mraz"

ที่มา
http://www.acousticthai.net/ukulele.htm